เจตคติเชิงวิทยาศาสตร์

ความหมายของเจตคติ

 

ความหมายของเจตคติ

ความหมายของเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์

คุณลักษณะของเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์

กลับหน้าหลัก

ผู้สนับสนุน

 

 


 

          นักการศึกษาได้ให้ความหมายของเจตคติไว้ดังนี้

          ประภาเพ็ญ สุวรรณ (2526 : 3) กล่าวถึง เจตคติ หมายถึง ความคิดเห็นซึ่งมีอารมณ์เป็นส่วนประกอบ พร้อมที่จะมีปฏิกิริยาเฉพาะอย่างต่อสถานการณ์ภายนอกMunby (1983 : 141)  กล่าวว่า เจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ หมายถึง การแสดงออกทางด้านจิตใจที่เกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์เชิงวิทยาศาสตร์ซึ่งแสดงออกให้เห็นถึงกระบวนการใช้สติปัญญาหรือความคิดของนักวิทยาศาสตร์ในขณะปฏิบัติงาน

 

          สงวน สุทธิเลิศอรุณ (2529 : 92) กล่าวถึง เจตคติ หมายถึง ความรู้สึกและท่าทีของบุคคลที่มีต่อสิ่งใด ๆ ส่งผลให้มีพฤติกรรมตอบสนองในลักษณะที่สอดคล้องกับความรู้สึกหรือท่าทีนั้น

 

           ไพฑูรย์ สุขศรีงาม (2529 : 6) กล่าวถึง เจตคติ หมายถึง แนวโน้มการตอบสนองของบุคคลหรือความพร้อมของบุคคลในการตอบสนอง เจตคติมิได้มีหน้าที่กำหนดชนิดการกระทำแต่ทำหน้าที่ให้กลุ่มหรือชนิดของการกระทำอย่างหนึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นมากหรือน้อย

 

          Thurstone ( 1964 : 453) กล่าวถึง เจตคติ หมายถึง ตัวแปรทางจิตวิทยาอย่างหนึ่งที่ไม่อาจสังเกตได้โดยง่าย แต่เป็นความโน้มเอียงภายใน แสดงออกให้เห็นได้จากพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เจตคติยังเป็นเรื่องของความชอบ ความไม่ชอบ ความลำเอียง ความคิดเห็น ความรู้สึกและความเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
 

          สรุปได้ว่า เจตคติ หมายถึง ความรู้สึกและท่าทีของบุคคลที่มีต่อสิ่งใด ๆ ในลักษณะที่สอดคล้องกับความรู้สึกหรือท่าทีนั้น เช่นเรื่องของความชอบ ความไม่ชอบความรู้สึกและความเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

 

 

เอกสารอ้างอิง

ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2526). ทัศนะคติการวัดการเปรียบเทียบพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพฯ :
โอเดียนสโตร์.

สงวน สุทธิเลิศอรุณ.  (2529).  ทฤษฎีและปฏิบัติการทางจิตวิทยา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรบัณฑิต.

ไพฑูรย์ สุขศรีงาม. (2529).  ข้อจำกัดของวิทยาศาสตร์,” วารสารการวิจัยและพัฒนาการเรียนการ
สอน.  7(1) : 10-15 ; มกราคม-มิถุนายน.

Thurstone, L.L.  (1964).  Attiude Theroy and Measurement. New York : John Wiley and Sons.